วันที่ 16 กันยายน 2563 สโมสรการท่าเรือ เอฟ.ซี. จึงเข้าชี้แจงกรณีดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาวินัยมารยาทฯ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีเนื้อความโดยสรุป ดังนี้
สโมสรการท่าเรือ เอฟ.ซี. ได้มีการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ภายในสนามอย่างรอบด้านโดยเฉพาะระบบไฟฟ้ามาโดยตลอด รวมทั้งได้มีการติดตี้งเครื่องปั่นไฟสำรองมาตั้งแต่ปี 2558 เพื่อรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน โดยยังได้รับการตรวจความพร้อมตามมาตรฐานการจัดการแข่งขันฟุตบอลไทยลีกและรายการอื่นๆ ภายใต้สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ มาโดยตลอด ทั้งยังมีการอุ่นเครื่องไทยรัฐ บิ๊กไฟวท์ ที่สนามแพท สเตเดียม พบกับ ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด เมื่อวันที่ 4 กันยายน โดยมีการใช้ไฟฟ้าเต็มกำลังเสมือนแข่งจริง ซึ่งไม่เหตุการณ์ผิดปกติแต่อย่างใด จึงถือเป็นการทดสอบระบบต่างๆ อย่างเต็มรูปแบบก่อนการแข่งขันไทยลีกกลับมาอีกครั้ง อีกครั้งก่อนการแข่งขันทุกนัดเหย้า จะมีการทดสอบระบบไฟฟ้าล่วงหน้า อย่างน้อย 2 ครั้ง/แมทช์ โดยในการแข่งขันนัดที่ 5 นี้ ได้มีการทดสอบครั้งที่ 1 คือวันที่ 12 กันยายน 2563 และครั้งที่ 2 คือช่วงเช้าของวันที่ 13 กันยายน 2563 โดยพบว่า ระบบไฟฟ้าทุกอย่างสามารถทํางานได้ตามปกติ
โดยหลังเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ ทีมช่างของสโมสร ได้แก่ หัวหน้าช่างไฟฟ้า 1 คน เจ้าหน้าที่ไฟฟ้าแรงสูง 2 คน และเจ้าหน้าที่ไฟฟ้าแรงต่ำ 2 คน ได้เข้าตรวจสอบระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งสวิตช์เกียร์ หม้อแปลง ตลอดจนเสาไฟฟ้าทุกต้น พบว่ามีกระแสไฟเดินตามปกติ อีกทั้งเครื่องปั่นไฟสำรอง(Generator) ก็ทำงานปกติ แต่ไม่สามารถจ่ายเข้าสู่อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในสนามได้ เบื้องต้นทีมช่างไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญ คาดว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุความผิดปกติของอุปกรณ์ภายในเครื่อง Air circuit breaker ภายในตู้ MBD (Main Distribution Board) ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่อยู่ในห้องควบคุมใต้โซน A ซึ่งเป็นตู้รับไฟฟ้าจากหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อควบคุมการจ่ายไฟไปยังจุดต่างๆ ของทั้งสนาม โดยการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องรื้อระบบอุปกรณ์ภายในทั้งหมดออกมาตรวจสอบ ซึ่งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง
ในวันต่อมาสโมสรได้ตรวจหาสาเหตุของไฟดับอย่างละเอียด โดยทีมวิศวกรและช่างไฟฟ้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย, ทีมจากบริษัท อาซีฟา จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายตู้ MBD (Main Distribution Board) และทีมจากบริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ซีพีซี เอส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ Air circuit breaker พร้อมด้วยทีมการไฟฟ้านครหลวง เขตคลองเตย และตัวแทนจาก บริษัท Crawford & Company (Thailand) และ McLarens ซึ่งใช้ระยะเวลาในการ ตรวจสอบทั้งระบบนานกว่า 8 ชั่วโมง พบว่าอุปกรณ์ภายในเครื่อง Air circuit breaker ซึ่งเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ที่ เรียกว่า Shunt Tip เป็นอุปกรณ์สําคัญที่อยู่ภายใน Air circuit breaker เกิดขัดข้อง ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าต่อไปยังจุดอื่นๆ ภายในสนามได้ตามปกติ อันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยปกติอุปกรณ์นี้จะมีอายุการใช้งานทั่วไปได้มากกว่า 15 – 20 ปี สำหรับสนามแพท สเตเดียม ได้ดําเนินการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวนี้ เมื่อปี 2556 รวมระยะเวลาเพียง 8 ปี ดังนั้น เหตุการณ์นี้จึงนับเป็นเหตุสุดวิสัย ที่เกิดจากชิ้นส่วนของ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถเกิดการขัดข้องได้ตลอดเวลาโดยไม่คาดคิด และไม่มีการส่งสัญญาณแจ้งเตือนให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบล่วงหน้า
สโมสรขอยืนยันว่าได้ดําเนินการต่างๆ ในการเตรียมความพร้อมทุกด้านตามมาตรฐานการจัดการแข่งขันที่ทางบริษัท ไทยลีก จำกัด และสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ กำหนดอย่างรอบคอบ ระมัดระวังทุกประการ และได้พยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่รอบด้านภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดต่างๆ ทั้งนี้ อุปกรณ์ต่างๆ มีรายละเอียดและความซับซ้อนที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการและระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามความเหมาะสมของอุปกรณ์นั้นๆ
จากเหตุการณ์ดังกล่าว สโมสรจึงใคร่ขอคณะกรรมการพิจารณาวินัยมารยาทฯ ได้โปรดพิจารณาเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยความเห็นอกเห็นใจ ตามข้อเท็จจริงที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย โดยสโมสรไม่ได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้แก้ไขเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้การเตรียมความพร้อมสําหรับการแข่งขันไทยลีก 1 นัดต่อไป เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ยูโร-2020
-
ยูโร 2020
/ 3 ปี ที่แล้ว‘เคียร์’ แจงเรื่อง ‘อีริคเซน’ นึกถึงเกือบทุกวัน – กลายเป็นส่วนหนึ่งของตนเอง
เซ็นเตอร์แบ็คทีมชาติเดนมาร์ก บอกว่าเหตุการณ์เพื่อนร่วมทีมหัวใจวายกลายเป็นส่วนหนึ่งของตน
โดย mxxn